แผนไทย12
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  |  
 ตะกร้าสินค้า (0)

แบบทดสอบBy Natachato12 (ปัจจุบันมีสภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทยแล้ว  กฏหมายต้องอ่านตาม พ.ร.บ.ใหม่น่ะครับ

1. พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ มีชื่อเรียกเต็มๆที่ถูกต้องว่า "พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ 2542"

2. พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

3. ในพระราชบัญญัตินี้ "การประกอบโรคศิลปะ" หมายความว่า การประกอบวิชาชีพที่กระทำหรือ มุ่งหมายจะกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ การผดุงครรภ์ แต่ไม่รวมถึงการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ

4. "การแพทย์แผนไทย" หมายความว่า การประกอบโรคศิลปะตามความรู้หรือตำราแบบไทยที่ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา หรือตามการศึกษาจากสถานศึกษาที่คณะกรรมการรับรอง

5. "ผู้ประกอบโรคศิลปะ" หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนขออนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะจากคณะกรรมการวิชาชีพ

6. การประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัตินี้ แบ่งเป็นสาขาต่าง ๆดังนี้ (1) สาขาการแพทย์แผนไทย ได้แก่ เวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย การนวดไทยและการแพทย์แผนไทยประเภทอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของกรรมการ

7. คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ มีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ

8. กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุข จำนวนสี่คน กระทรวงกลาโหม ทบวงมหาวิทยาลัย แพทย์สภา ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล และสภาเภสัชกรรมแห่งละหนึ่งคน และผู้แทนจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ สาขาละสองคน

9. คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ ให้ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ

10. กรรมการตามมาตรา 8 (1) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ กรรมการตามมาตรา 8 (1) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ เป็นผู้ไม่เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

11. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 8 (2) มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้

12. กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา 8 (2) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) รัฐมนตรีให้ออกหรือหมดวาระ

13. คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ แจ้งหรือโฆษณาข่าวสารด้วยวิธีการใด ๆ ตามที่เห็นสมควร เพื่อมิให้ประชาชนหลงเข้าใจผิดซึ่งอาจเป็นอันตรายเนื่องจากการประกอบโรคศิลปะ

14. คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ มีอำนาจ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ

15. คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วย (1) กรรมการวิชาชีพซึ่งเป็นผู้แทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และทบวงมหาวิทยาลัย แห่งละหนึ่งคน

16. คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วย กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินห้าคน

17. กรรมการวิชาชีพมีผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ

18. ภายในสามสิบวันนับจากวันเลือกตั้งกรรมการวิชาชีพตามมาตรา 15(3) มาตรา 16 (3) หรือมาตรา 17 (3) หรือมาตรา 18 (3) ให้คณะกรรมการวิชาชีพแต่ละสาขาเลือก กรรมการวิชาชีพเป็นประธานกรรมการ และรองประธานกรรมการวิชาชีพตำแหน่งละหนึ่งคน

19. กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา 15 (2) มาตรา 16 (2) มาตรา 17 (2) หรือมาตรา 18 (2) และกรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งตามมาตรา 15 (3) มาตรา 16 (3) มาตรา 17 (3) หรือมาตรา 18 (3) อยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีและอาจได้รับการ แต่งตั้งหรือเลือกตั้งอีก

20. คณะกรรมการวิชาชีพแต่ละสาขามีอำนาจและหน้าที่ รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขานั้น ๆ

21. คณะกรรมการวิชาชีพแต่ละสาขามีอำนาจและหน้าที่ออกหนังสือรับรองความรู้ความชำนาญเฉพาะทางในการประกอบโรคศิลปะในสาขานั้น

22. การดำเนินการของคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ และคณะกรรมการวิชาชีพการประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า หนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุมมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

23. ในการประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ถ้ารองประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมไม่สามารถทำการประชุมไดได้

24. ให้คณะกรรมการยกเว้นคณะกรรมการวิชาชีพมีอำนาจเรียกบุคคลใด ๆมาให้ถ้อยคำ หรือแจ้งให้บุคคลใด ๆ ส่งเอกสารหรือวัตถุที่จำเป็นแก่การดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่

25. ห้ามมิให้ผู้ใดทำการประกอบโรคศิลปะ หรือกระทำด้วยประการใด ๆให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเว้นแต่ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) การประกอบโรคศิลปะที่กระทำต่อตนเอง (2) การช่วยเหลือหรือเยียวยาผู้ป่วยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย หรือตามธรรมจรรยาโดยได้รับประโยชน์ตอบแทน

26. ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปี

27. การขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การออกหนังสือรับรองความรู้ความชำนาญเฉพาะทางในการประกอบโรคศิลปะ การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมายนั้นๆ

28. ห้ามมิให้ผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขาใดสาขาหนึ่งประกอบโรคศิลปะในสาขาอื่นที่ตนมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต

29. บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายเพราะผู้ประกอบโรคศิลปะฝ่าฝืน มาตรา 36 หรือประพฤติผิดข้อจำกัดและเงื่อนไขการประกอบโรคศิลปะตามมาตรา 37 หรือประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพตามมาตรา 38 มีสิทธิกล่าวหาผู้ประกอบโรคศิลปะผู้นั้นโดยทำคำกล่าวหาต่อคณะกรรมการวิชาชีพ

30. บุคคลซึ่งได้รับความเสียหาย ทำคำกล่าวหาต่อคณะกรรมการวิชาชีพ กรรมการวิชาชีพหรือบุคคลอื่นซึ่งพบหรือทราบว่าผู้ประกอบโรคศิลปะผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 36 หรือประพฤติผิดข้อจำกัดและเงื่อนไขการประกอบโรคศิลปะตามมาตรา 37 หรือประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพตามมาตรา 38 มีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบโรคศิลปะผู้นั้นโดยทำคำกล่าวโทษต่อคณะกรรมการวิชาชีพ

31. การถอนคำกล่าวหาหรือคำกล่าวโทษที่ได้ยื่นไว้แล้ว เป็นเหตุให้ระงับการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้

32. คณะอนุกรรมการวิชาชีพซึ่งคณะกรรมการวิชาชีพแต่งตั้งขึ้นตามมาตรา 23 (10) ให้ทำหน้าที่สอบสวนการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อดำเนินการสอบสวน แล้วสรุปผลการสอบสวนและเสนอสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นต่อคณะกรรมการประกอบโรคศิลปะเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา 44

33. ให้ประธานอนุกรรมการวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่สอบสวนมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษพร้อมทั้งส่งสำเนาเรื่องที่กล่าวหาหรือกล่าวโทษให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษทราบไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันเริ่มทำการสอบสวน

34. ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษมีสิทธิทำคำชี้แจงหรือนำพยานหลักฐานใด ๆมาให้คณะอนุกรรมการวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่สอบสวนคำชี้แจงหรือพยานหลักฐานให้ยื่นต่อประธานอนุกรรมการวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่สอบสวนภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับแจ้ง

35. รัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกล่าวหา กล่าวโทษ หรือสอบสวนให้เป็นไปตามระเบียบ

36. ลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ในกรณีที่วินิจฉัยว่าผู้ประกอบโรคศิลปะได้กระทำผิดจริงตามคำกล่าวหาหรือคำกล่าวโทษ (ก) ว่ากล่าวตักเตือน (ข) ภาคทัณฑ์ (ค) พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกินสองปี (ง) เพิกถอนใบอนุญาต

37. ให้ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะมีหนังสือแจ้งคำวินิจฉัย ของคณะกรรมการวิชาชีพตามมาตรา 44 ไปให้คณะกรรมการ และผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำวินิจฉัย

38. ผู้ประกอบโรคศิลปะผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและถูกศาลพิพากษาลงโทษตามมาตรา 58 คดีถึงที่สุดแล้ว ให้คณะกรรมการวิชาชีพสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้น โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด

39. ผู้ประกอบโรคศิลปะซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตอาจขอรับใบอนุญาตอีกได้เมื่อพ้นสองปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต

40. เมื่อคณะกรรมการวิชาชีพได้พิจารณาคำขอรับใบอนุญาตและปฏิเสธการออกใบอนุญาต ผู้นั้นจะยื่นคำขอรับใบอนุญาตได้อีกต่อเมื่อสิ้นระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่คณะกรรมการวิชาชีพปฏิเสธการออกใบอนุญาต

41. ในการปฏิบัติหน้าที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังนี้ (1) เข้าไปในสถานที่ของผู้ประกอบโรคศิลปะในระหว่างเวลาทำการเพื่อตรวจ สอบหรือควบคุมให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ (2) เข้าไปในสถานที่ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิดตามพระราช บัญญัตินี้ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการ

42. เมื่อได้เข้าไปและลงมือทำการตรวจสอบในเวลากลางวันถ้ายังดำเนินการไม่แล้วเสร็จจะกระทำต่อในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทำการก็ได้

43. ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

44. ผู้ประกอบโรคศิลปะซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง

45. ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกหรือหนังสือแจ้งที่ออกตามมาตรา 28 หรือมาตรา 41 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

46. ผู้ซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะทำการประกอบโรคศิลปะอันเป็น การฝ่าฝืนมาตรา 30 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

47. ผู้ซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 30 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

48. ผู้ประกอบโรคศิลปะต้องไม่โฆษณา ใช้ จ้าง วาน หรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบโรคศิลปะ ความรู้ความชำนาญในการประกอบโรคศิลปะของตน เว้นแต่เป็นการโฆษณาเกี่ยวกับการแสดงผลงานในหน้าที่หรือทางวิชาการหรือเพื่อการศึกษา การประชุมทางวิชาการ การบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะและการประกาศเกียรติคุณอาจกระทำได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในระเบียบว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพตามวรรคหนึ่ง

49. สิทธิกล่าวหาตามวรรคหนึ่งหรือสิทธิกล่าวโทษตามวรรคสองสิ้นสุดลงเมื่อพ้น หนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้กล่าวโทษรู้เรื่องและรู้ตัวผู้ประพฤติผิดแต่ไม่เกินสามปีนับแต่วันที่มีการประพฤติผิดในเรื่องดังกล่าว

50. โทษว่ากล่าวตักเตือนสามารถจะอุธรณ์ได้

ผลคะแนน =
เฉลยคำตอบ:

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 42,195 Today: 4 PageView/Month: 128

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...